พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวงขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศและเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ การก่อสร้างพระราชวังหลวงเริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ.2325 หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย โดยมีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่สำคัญเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
พระบรมมหาราชวัง ถ.หน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
– ทิศเหนือ ติดกับท้องสนามหลวง
– ทิศตะวันออก ติดกับกระทรวงกลาโหม
– ทิศใต้ ติดกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
– ทิศตะวันตก ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
พระบรมมหาราชวังสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็นบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเขตพระราชฐานอันเป็นพื้นที่สำหรับเป็นที่ประทับและบริหารราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ โดยเขตพระราชฐานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เขตพระราชฐานชั้นหน้า เขตพระราชฐานชั้นกลาง และเขตพระราชฐานชั้นใน
พระบรมมหาราชวังยังคงเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยจนถึงปี พ.ศ.2468 แต่ปัจจุบันใช้สำหรับพระราชพิธีที่สำคัญเท่านั้น ภายในพระบรมมหาราชยวังมีสถาปัตยกรรมแบบไทยหลายสมัย ได้แก่ หอพระที่นั่งจักรีมหาพฤกษ์บ้านร่องพิมานและมหามณเฑียรปราสาทรวมถึงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว ถือว่าเป็นวัดที่สำคัญของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ที่เป็นพระอารามหลวงชั้นพิเศษ ที่ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรี โดยรัชกาลที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2325 โดยมีที่ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับพระราชวังเดิมของกรุงธนบุรี
ภายในวัดพระแก้ว มีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและเป็นวัดทางพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศ เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน พระแก้วมรกตทำจากหยกและถูกแกะสลักไว้ พระแก้วมรกตมีความสูง 66 ซม. (26 นิ้ว) มี เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรทั้ง 3 ฤดู กรมธนารักษ์